วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เทคนิคการเตรียมสอบ

       
           หลายคนใกล้สอบ จะใช้เทคนิคนี้ในการเตรียมตัวสอบทั่วไป หรือสอบ A-NET, O-NET ก็ไม่ว่ากันนะคะ ยังก็ขอให้สอบผ่านกันถ้วนหน้าแล้วกัน เริ่มกันเลยแล้วกัน วันนี้มี 4 เคล็ดลับมาฝากค่ะ
1. ทำตารางสอบ
       โดยจดวันและเวลาที่สอบไว้ให้ชัดเจน
2. อ่านตำราโดยจัดลำดับตามตารางสอบ (ในข้อ 1)
        โดยเริ่มอ่านจากวิชาที่สอบวันแรก ไปจนถึงวันสุดท้าย และควรอ่านให้จบก่อนถึงวันสอบประมาณ 4 วันหรือมากว่านั้น และอ่านทบทวนอีกครั้งในวันสุดท้ายก่อนที่จะถึงวันสอบวิชานั้นๆ
3. พูดคุยกับเพื่อนๆ
         ไม่ใช่ชวนกันคุยเรื่องแฟชั่น เสื้อผ้า ดูหนัง หรือฟังเพลงนะคะแต่เป็นการพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาที่เราจะสอบ ถ้าจะให้ดีควรหากลุ่มเพื่อนสนิทแล้วเริ่มอ่านหนังพร้อมกัน และเมื่ออ่านจบก็ควรซักถามในส่วนที่ยังไม่เข้าใจเพื่อจะได้เป็นการทบทวนความรู้ให้เพื่อนและเพื่อเพิ่มความเข้าใจให้แก่ตนเองด้วย
4. ค้นคว้าเพิ่มเติม
          ในกรณีที่เรายังเข้าใจในเนื้อหาที่อ่านอย่างถ่องแท้เราก็ควรค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำรา หรือว่าอาจารย์ผู้สอนรายวิชานั้นๆ และจดบันทึกข้อควรจำที่สำคัญๆ เพื่อทำความเข้าใจก่อนสอบ

การเตรียมตัวก่อนการสอบ
          ปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้นักเรียนมีความสำเร็จในการสอบ คือ การที่นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการจัดสอบ และมีข้อมูลการสอบของตนเองที่ถูกต้อง ชัดเจน
ตรวจสอบรายละเอียดของกำหนดการสอบ
        นักเรียนควรตรวจสอบรายละเอียดของกำหนดการสอบของตนเองในใบแจ้งกำหนดการสอบให้ชัดเจน
เตรียมอุปกรณ์และหลักฐานแสดงตนเพื่อเข้าสอบ

          อุปกรณ์ที่ใช้สอบ ได้แก่ ปากกา ดินสอดำที่มีความเข้มอย่างน้อยเบอร์ 2 หรือ 2 B, BB ดินสอดำ (ไม่ควรใช้ดินสอดำที่มีไส้แข็งหรืออ่อนกว่าที่กำหนด) ยางลบ และที่เหลาดินสอ
หลักฐานแสดงตนเพื่อเข้าสอบ คือ บัตรประจำตัวนักเรียน เพื่อแสดงตนต่อกรรมการคุมสอบ
ในกรณีที่ขาดบัตรประจำตัวนักเรียน ให้ติดต่อฝ่ายกิจการนักเรียน เพื่อขอทำบัตรเข้าสอบชั่วคราว  
การปฏิบัติตนในการเข้าสอบ
           แต่งกายให้สุภาพ นักเรียนต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย สำรวจข้อสอบเมื่อกรรมการคุมสอบให้สัญญาณลงมือสอบ ให้นักเรียน ตรวจดูชื่อ-รหัสวิชา จำนวนหน้า และจำนวนข้อของข้อสอบ อ่านคำแนะนำและข้อปฏิบัติในการทำข้อสอบอย่างรอบคอบ หากแบบทดสอบหน้าใดพิมพ์ไม่ชัดเจนอ่านไม่ออก หรือนักเรียนมีปัญหาอื่น ๆ ให้รีบแจ้งกรรมการคุมสอบ ทันที กรอกข้อมูลของตนเองให้ชัดเจน สำหรับการตอบข้อสอบปรนัย กรอกรายละเอียดบนหัวกระดาษคำตอบและฝนรหัสประจำตัวนักเรียนให้ถูกต้อง ชัดเจน
สำหรับการตอบข้อสอบอัตนัย ควรเขียนชื่อ เลขที่ ในกระดาษคำตอบใหถูกต้องชัดเจน
การตอบข้อสอบปรนัย
      ข้อสอบปรนัย มี 4 ตัวเลือก หรือ 5 ตัวเลือก โดยที่แต่ละข้อจะมีคำตอบที่ถูกต้อง ที่สุดเพียงคำตอบเดียวเท่านั้น นักเรียนจะต้องพิจารณาตัวเลือกต่างๆอย่างละเอียด รอบคอบ เพื่อเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
ข้อแนะนำสำหรับการตอบข้อสอบปรนัย
-  กรอกรายละเอียดบนหัวกระดาษคำตอบและฝนรหัสประจำตัวนักเรียนให้ถูกต้อง ชัดเจน

- อุปกรณ์ที่ใช้สอบ ได้แก่ ดินสอดำที่มีความเข้มอย่างน้อยเบอร์ 2 หรือ 2B ยางลบ และที่เหลาดินสอ
- สำรวจข้อสอบทั้งหมด เพื่อวางแผนในการใช้เวลาในการทำข้อสอบ และเพื่อเป็นการผ่อนคลายความวิตกกังวลในการสอบ อีกด้วย
- ควรอ่านคำสั่งและทำความเข้าใจกับข้อคำถามแต่ละข้ออย่างระมัดระวัง รอบคอบ พิจารณาตัวเลือกทุกตัวเลือกก่อนตัดสินใจเลือกตัวเลือกใดเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
- ในการฝนคำตอบในกระดาษคำตอบสำหรับข้อสอบปรนัย ต้องฝนให้เข้มจนมองไม่เห็นตัวเลขที่พิมพ์ไว้ในวงของตัวเลือก และฝนให้ดำเข้มเต็มวงเพียง 1ตัวเลือกเท่านั้น เมื่อนักเรียนเปลี่ยนคำตอบใหม่ ให้แก้ไขโดยใช้ยางลบลบคำตอบเก่าให้เกลี้ยงสะอาดแล้วจึงฝนคำตอบที่เลือกใหม่ เพราะการเลือกคำตอบ 2 คำตอบในข้อเดียวกัน เครื่องคอมพิวเตอร์ตรวจข้อสอบจะให้คะแนนข้อนั้นศูนย์ทันที
- ไม่ควรใช้เวลากับข้อคำถามข้อใด ข้อหนึ่ง นานเกินไป หากยังไม่แน่ใจคำตอบ ให้ข้ามไปทำข้ออื่นก่อน และทำเครื่องหมายไว้ เมื่อมีเวลาเหลือจึงกลับมาพิจารณาใหม่
- ก่อนที่จะส่งข้อสอบและกระดาษคำตอบคืนกรรมการคุมสอบ ควรตรวจทานว่าทำข้อสอบได้ครบทุกข้อ และกรอกรายละเอียดได้ครบถ้วน ถูกต้อง
การตอบข้อสอบอัตนัย
        ข้อสอบอัตนัยจะนิยมใช้วัดพฤติกรรมการเรียนรู้ในระดับสูง เช่น ความเข้าใจ การประยุกต์ การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ การวิเคราะห์หรือการสังเคราะห์ ซึ่งต้องใช้ความรู้ในหลายๆ เรื่อง หลาย ๆ หน่วย แล้วนำมาบูรณาการเพื่อใช้ตอบปัญหาที่ถาม
ขัอแนะนำสำหรับการตอบข้อสอบอัตนัย
 กรอกรายละเอียดบนหัวกระดาษคำตอบ
เขียนตัวหนังสือให้ชัดเจน อ่านง่าย สะอาด และเป็นระเบียบเพื่อกรรมการตรวจข้อสอบจะได้อ่านออกและรวจคำตอบได้ชัดเจน
- อุปกรณ์ที่ใช้สอบ ได้แก่ ปากกา (ในการทำข้อสอบอัตนัยให้ใช้ปากกาเขียนตอบ)
- ควรมีการวางโครงเรื่อง โดยกำหนดคำตอบที่เป็นหลักการสำคัญของทุกประเด็นก่อนแล้วค่อยลงมือเขียน  คำตอบ และพยายามเรียบเรียงหัวเรื่องและตอบข้อสอบให้ถูกต้องครบทุกประเด็น เมื่อขึ้นประเด็นใหม่ควรย่อหน้าใหม่
-  ควรใช้ภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย กระชับ และไม่เยิ่นเย้อ วกวน
- ถ้ามีเวลาเหลือ ควรอ่านทบทวนคำตอบ และตรวจสอบว่า ตนเองเขียนตอบได้ตรงกับที่ต้องการจะตอบหรือไม่ ถ้ามีประเด็นคำถามหรือคำตอบที่สำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น